เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า เธอ ... มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่
สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปัญญา ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความ
รู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ1
เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง
กำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง
และซักฟอกอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะเป็นเครื่องกำจัดมิจฉาสังกัปปะ ... สัมมาวิมุตติ เป็นเครื่องกำจัด
ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาวิมุตติ
อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก
อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยธรรมเครื่องชำระล้างเหล่านี้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด พระองค์ทรงกำจัดความกำหนัด
ได้แล้ว กำจัดบาปได้แล้ว กำจัดกิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า เธอมาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่
สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปสูรปริพาชก ไม่สามารถแข่งคู่ คือ จับคู่
แข่งขัน สนทนา ปราศรัย ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา
เครื่องกำจัดได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก เลว ทราม ต่ำทราม
น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ส่วนพระผู้มีพระภาค ทรงล้ำเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
ปสูรปริพาชก ไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ จับคู่ แข่งขัน สนทนา ปราศรัย
ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดได้ เปรียบเหมือน

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 21/92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :213 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
กระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับช้างใหญ่กำลังตกมันได้ สุนัขจิ้งจอกแก่ ๆ
ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อยุทธกับราชสีห์ ผู้เป็นเจ้าแห่งมฤคได้ ลูกโคเล็ก ๆ ยังไม่
อดนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับโคผู้ซึ่งมีกำลังมากได้ กาไม่อาจมาแข่งคู่
คือ จับคู่แข่งขันกับพญาครุฑนามว่าเวนไตยได้ คนจัณฑาลไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ
จับคู่ต่อยุทธกับพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ ปีศาจเล่นฝุ่นไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อกร
กับพระอินทร์ผู้ทรงเป็นเทวราชได้
ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม
มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
ส่วนพระผู้มีพระภาคมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา
อาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส
ทรงความฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
บรรลุเวสารัชชญาณ 4 เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้นำธุระ
มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้
ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้
เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำ
มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค
ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ดำเนินไปตามมรรค อยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณ ในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย
ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระผู้มี-
พระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้
ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมา
สู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา
ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :214 }